Thursday, November 10, 2005

Chinese, Korean, and Japanese in comparison


ในที่สุดผมก็เจอหนังสือที่หามานานจนได้ครับ ก็หนังสือที่โพสต์รูปไว้ข้างซ้ายนี่แหละ Writing and literary in Chinese, Korean, and Japanese

หนังสือแนวภาษาเปรียบเทียบนี้ผมว่าหาได้ไม่ง่ายนัก ส่วนใหญ่หนังสือภาษาก็จะเน้นแต่ภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งส่วนตัวแล้วผมคิดว่าเป็นวิธีการเรียนภาษาที่ไม่น่าจะดีที่สุด การเรียนภาษาควรจะเรียนแบบเปรียบเทียบ ให้เห็นถึงลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกันของภาษาที่เราสนใจกับภาษาใกล้เคียง

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อธิบายลักษณะเด่น ข้อเหมือน ข้อแตกต่าง ในทุกแง่มุมทางภาษาศาสตร์โดยเฉพาะระบบการเขียนของภาษาของสามประเทศในเอเชียตะวันออก อันได้แก่ประเทศจีน เกาหลี (เหนือและใต้) และ ญี่ปุ่น และยังมีการเปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษสำหรับกลุ่มผู้อ่านเป้าหมายของหนังสือเล่มนี้

ทำไมต้องมีการเปรียบเทียบภาษาของสามประเทศนี้ด้วย คำตอบก็คือว่าประเทศสามประเทศนี้ถ้าคนไหนรู้เพียงผิวเผินจะคิดว่าเป็นภาษาที่มีลักษณะคล้ายๆกัน เพราะกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกซึ่งถือว่ามีจีนเป็นแม่แบบนั้นถือว่ามีระบบความเชื่อ วัฒนธรรมคล้ายๆกัน เมื่อดูลักษณะเครื่องแต่งกายประจำชาติ สถาปัตยกรรม งานศิลปะ รวมทั้งความคิดและลักษณะภายนอกของคนทั้งสามประเทศนี้ ก็ไม่แปลกเลยที่จะทำให้คิดว่ามันเหมือนกัน ถ้าไม่ศึกษาให้ละเอียดก็คงไม่ทราบว่าจริงๆแล้วมันก็มีข้อแตกต่างปลีกย่อยมากมาย

และในบรรดาข้อแตกต่างปลีกย่อยเหล่านี้ สิ่งที่ถือว่าเป็นทั้งจุดเหมือนและจุดแตกต่างที่เด่นที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นภาษา โดยเฉพาะเมื่อเราพิจารณาว่ากลุ่มประเทศสามประเทศนี้เท่านั้นที่เป็นกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรที่ถูกพัฒนามาจากภาพ หลายคนอาจจะบอกว่าประเทศเกาหลีไม่ได้ใช้อักษรจีนแล้ว แต่ระบบการเขียนของเกาหลีพึ่งมาเป็นที่นิยมกันเมื่อ 50-60 ปีที่ผ่านมาเท่านั้นเอง ช่วงเวลาก่อนหน้านั้นก็ใช้อักษรจีนมาโดยตลอด และช่วงหลังนี้เมื่อมีความพยายามที่จะยกเลิกการใช้อักษรจีน ญี่ปุ่นทำไม่สำเร็จ เกาหลีทำสำเร็จแต่ก็ต้องผ่านช่วงเวลาที่ใช้บ้างไม่ใช้บ้างมาหลายปี

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากความแตกต่างทางไวยากรณ์ของภาษาเกาหลีและญี่ปุ่นกับภาษาจีนแล้วยิ่งทำให้น่าฉงนมากว่าทำไมระบบการเขียนของจีนและคำศัพท์ที่สองประเทศนี้ยืมมาจากภาษาจีนถึงได้ฝังรากลึกในระบบภาษาของทั้งเกาหลีและญี่ปุ่นได้ถึงเพียงนี้

ด้วยลักษณะที่เหมือนกันถึงเพียงนี้ ผมคิดว่าเราน่าจะเอาจุดเหมือนเหล่านี้มาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคนี้ได้ โดยเฉพาะจุดร่วมที่ไม่ค่อยมีใครสังเกตเหล่านี้

ถึงแม้ว่าในยุคร่วมสมัยนี้จะมีความขัดแข้งกันยังไง สุดท้ายแล้วก็หนีความเหมือนทางประวัติศาสตร์ไปไม่พ้น

Chinese, Japanese, South (and North) Koreans in East Asia have a long, intertwined and distinguished cultural history and have achieved, or are in the process of achieving, spectacular economic success. Together, these three peoples make up one quarter of the world population.

They use a variety of unique and fascinating writing systems: logographic Chinese characters of ancient origin, as well as phonetic systems of syllabaries and alphabets. The book describes, often in comparison with English, how the Chinese, Korean and Japanese writing systems originated and developed; how each relates to its spoken language; how it is learned or taught; how it can be computerized; and how it relates to the past and present literacy, education, and culture of its users.

Readers of the book will learn about the interrelated cultural histories of China, Korea and Japan, but mainly about the various writing systems, some exotic, some familar, some simple, some complex, but all fascinating.

0 Comments:

Post a Comment

<< Home