Sunday, March 26, 2006

Anglo-Saxon and Latinate Words

Having trouble memorizing English vocabulary? Read this and you will know why.

The English language is derived from a Germanic language – Old English (Anglo-Saxon). However, despite English’s clearly Germanic forms, structures and vocabulary, it also comprises a large number of Latinate and/or French words (being a Romance language, French is derived ultimately from Latin).

Around 1100 AD, with the Norman Conquest, English saw an influx of words from French. For centuries thereafter, French was the language spoken by the English ruling classes and was the official language of the Royal Court, whereas Anglo-Saxon was relegated to the lower classes.

For example, we can see the class distinction in the way nouns for meats are commonly different from, and unrelated to, those for the animals from which they are produced, with the animal commonly having a Germanic name and the meat having a French-derived noun - possibly due to the French-speaking elite being the consumers of the meat produced by the English-speaking lower classes:

* deer = venison (Old French veneso(u)n)
* ox or cow = beef (Old French boef)
* swine = pork (Old French porc)

Sometimes French words replaced Old English words entirely:

* crime replaced firen
* uncle replaced eam

Other times, French and Old English components combined to form a new word:

* French gentle ( gentil ) and the Germanic man formed gentleman.

This influx of French words resulted in Middle English. Then, in the Renaissance, words by the thousands were imported directly from Latin. For this reason, English is today a mongrel language, mixing Germanic, French and Latinate roots.

Sometimes, in fact, we have three closely related words, one each from Anglo-Saxon, from Latin via French, and directly from Latin:

* kingly (Germanic)
* royal (from French roi)
* regal (from Latin rex, regis)

This means that the English language contains an unusual amount of synonyms and that for many Anglo-Saxon-derived words we can find, whether directly from Latin or via French, a Latinate equivalent:

* Anger/wrath = rage/ire
* Bodily = corporal
* Brotherly = fraternal
* Leave = egress/exit/depart
* Thinking = pensive
* Dog = canine
* Come = arrive
* Ask = enquire

As a (very rough) general rule, words derived from the Germanic ancestors of English are shorter, more concrete and more direct, whereas their Latinate counterparts are longer, more abstract and are regarded as more elegant or educated.

However, such synonyms usually have a slightly different meaning, enabling the English language to be used in a very flexible way to express fine variations or shades of thought.

M. Birch



© Tectrad US, Inc

Saturday, March 25, 2006

Major field, major concern

ถึงเวลาอัพเดทบล๊อกแล้ว คืนวันศุกร์แบบนี้น่าจะเป็นเวลาที่เหมาะสม สิ่งที่ผมอยากจะเขียนตอนนี้ก็คือเป็นสิ่งที่ผมและเพื่อนๆที่ผมสนิทด้วยกลุ้มใจกันอยู่ตอนนี้ นั่นก็คือ เรื่องว่าจะเรียนต่อฟิลด์ไหนดี

เรื่องของเรื่องมันก็มีอยู่ว่า เมื่่อถึงเวลากลางๆเทอมสปริง ทางคณะจะออกลิสต์วิชาที่จะเปิดสอนในเทอมหน้ามา ถึงตอนนี้ก็เป็นเวลาที่นักเรียนทั้งหลายจะต้องวางแผนกันแล้วว่าจะต้องเลือกวิชาฟิลด์อะไรดี เพื่อที่จะวางแผนถูกว่าจะเรียนวิชาอะไรในเทอมหน้า

สำหรับผมนั้นก็ถือว่ามีปัญหาพอสมควร เพราะก่อนหน้าที่จะมาเรียนที่นี่นั้น ก็รู้อยู่แล้วว่าที่นี่ก็ไม่ค่อยมีอาจารย์ที่ทำด้านทีทำวิจัยในสาขาที่ผมอยากทำมากนัก แต่ด้วยสาเหตุบางประการ ผมก็ได้เลือกมาที่นี่ เรียนไปเรียนมาก็ค้นพบว่า คณะเศรษฐศาสตร์ทั่วไปที่ไม่ใช่คณะเศรษฐศาสตร์ท้อปเท็นในอเมริกา ย่อมต้องเก่งในบางฟิลด์็และอ่อนในบางฟิลด์ อย่างที่คณะผมนี้ พูดได้เลยว่าวิชาที่อ่อนที่สุดตอนนี้คงจะเป็นแม็คโคร เพราะแทบจะพูดได้ว่าไม่มีอาจารย์ที่ทำวิจัยทางด้านแม็คโครอยู่เลย ที่มีอยู่ก็เก๋ากึ้ส์อย่าง Dr.Froyen ที่ดูเหมือนจะตามพรมแดนความรู้ไม่ทันเสียแล้ว อาจารย์ท่านอื่นก็ยังเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์กันอยู่ แทบจะเรียนได้ว่า การทำวิจัยด้านแม็คโครที่นี่เงียบสนิท

สิ่งที่สะท้อนได้ดีว่าแม็คโครที่นี่ไม่ค่อยแข็งก็คือเนื้อหาวิชาที่เรียนเอง เทอมหนึ่งเรียน IS-LM และวิวัฒนาการพรมแดนความรู้ของเศรษฐศาสตร์มหภาคในเชิงคณิตศาสตร์ เทอมที่สองก็พึ่งจะเริ่มเรียนRamsey, OLG model ต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นแม็คโครตัวหนึ่งของคณะเศรษฐศาสตร์ของหลายๆมหาวิทยาลัย

และสิ่งนี้เองที่ทำให้นักเรียนหลายคนที่อย่างทำทางด้านแม็คโครเซ็งไปตามๆกัน เพราะไม่สามารถหาอาจารย์ที่ปรึกษาได้ ถึงแม้ทางทฤษฎี สามารถจะไปขออาจารย์ที่มหาวิทยาลัยดุ๊กมาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วทำได้ยาก เพราะอาจารย์ที่ดุ๊กคนไหนจะสนใจนักเรียนจากUNC

แล้วช่วงนี้สิ่งที่ทำให้คนที่อยากจะทำฟิลด์ applied micro เซ้งไปก็คือ อาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียนหลายๆคนทางด้านนี้ได้ย้ายไปอยู่อังกฤษ อาจารย์ที่มีอยู่อีกคนหนึ่งก็ค่อนข้างเน้นทางทฤษฎีมาก และไม่มีแนวโน้มว่าจะเป็้นอาจารย์ที่ปรึึกษาที่ดีได้ เพราะดูท่าทางไม่ค่อยให้ความสนใจกับเด็กนักเรียนมากนัก

ทางฟิลด์เทรด ก็มีอาจารย์ที่แอ๊คทิฟอยู่แค่คนเดียวที่นี่ ทางฟิลด็ financial econometrics ก็มีอาจารย์ที่ทำด้านนี้สองคน แต่ดูเหมือนว่าจะมีเด็กที่อย่างทำด้านนี้เกินโควต้า ก็ต้องทำให้บางคนมีแนวโน้มต้องเปลี่ยนฟิลด์ไป

แต่สำหรับนักเรียนที่จะทำด้าน lobor หรือ Health ก็สบายใจไปเพราะที่นี่ยังมีโปรเฟสเซอร์หลายท่านที่ยังทำวิจัยด้านนี้อยู่ ที่ก็เป็นเสาหลักของคณะนี้

สำหรับผมก็คิดว่าอยากจะทำทางด้านเทรด ส่วนวิชาไมเนอร์ยังคิดอยู่ระหว่าง I.O. หรือEconometrics I.O.นั้นดูเหมือนจะเอาไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้มาก และน่าจะเข้ากับ็เทรดได้ดี ในขณะที่คณะนี้ก็ดีทางด้านเศรษฐมิติพอสมควร และเศรษฐมิติก็เอาไปใช้ประโยชน์ได้มาก โดยเฉพาะหน่วยงานที่ผมต้องไปใช้ทุน

ท้ายที่สุดแล้วก็คงขึ้นอยู่กับเทอมนี้ว่าจะ appreciate กับวิชาไมโคร หรือ Econometrics มากกว่ากันครับ ส่วนแม๊คโครนั้นไม่ต้องพูดถึงเลย

Saturday, March 11, 2006

Time flies...when you study

ในที่สุดผมก็ได้มีเวลามาเขียนบล๊อกเสียที หลังจากที่หายหน้าหายตาไปนานจนแทบลืมไปแล้วว่าตัวเองมีบล๊อกอยู่ ที่สามารถมาเขียนได้นี่ก็เพราะว่าตอนนี้อยู่ในช่วงspring break

ก็เทอมนี้เรียนหนักทีเดียว มีเรียนสามตัว เศรษฐมิติ ไมโครและแม็คโคร ถึงแม้จะดูน้อยแต่ว่าแต่ละตัวหินๆทั้งนั้น โดยเฉพาะไมโครซึ่งเป็นทฤษฎีเกมล้วนๆ แม็คโครก็เรียนแต่โมเดลอะไรก็ไม่รู้ แต่เรียนไปเรียนมาก็รู้สึกว่าทฤษฎีเกมเป็นวิชาที่สนุกทีเดียว(แต่ไม่ใช่ว่าจะได้คะแนนดีนะ) รู้สึกเป็นวิชาฟิลด์เศรษฐศาสตร์ที่สามารถเอาไปใช้กับวิชาอื่นได้ดีที่สุด เรียนแล้วน่าจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดี

จริงๆวิชาทฤษฎีเกม (game theory) รวมถึง ทฤษฎีการประมูล(Auction Theory) และทฤษฎีการเซ็นสัญญา(Contract theory:แปลถูกหรือเปล่านี่)นี้ ถือว่าเป็นสาขาวิชาเศรษฐศาตร์ที่ได้รับความสนใจ และมีการพัฒนามากที่สุดในช่วงหลังๆมานี้ และเท่าที่ดูไม่เฉพาะที่อเมริกาเท่านั้น ประเทศทางยุโรปโดยเฉพาะฝรั่งเศสและประเทศตะวันออกกลางอย่างอิสราเอลก็มีผู้เชี่ยวชาญสาขานี้มากมาย

จริงๆทฤษฎีเกมจะเรียกว่าเป็นสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ก็ดูจะไม่ถูกนัก เพราะวิชานี้ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับสาขาความรู้อื่นมากเหลือเกิน เข่นรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บริหารธุรกิจ การตลาด และอีกมากมาย

แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีเกมนี้ก็ต้องเป็นสาขาหนึ่งของเศรษฐศาสตร์อยู่วันยังค่ำเพราะมันก็คือวิชาที่สอนให้เรารู้จักวิธีในการได้ประโยชน์สูงสุด จากโอกาส และทรัพยากรต่างๆที่เรามีอยู่ ตรงกับหลักการเบื้องต้นของวิชาเสดสาดเป๊ะ