Tuesday, November 22, 2005

Japanese: the world most difficult-to-read language 日本語、世界一読みにくい言語であろう

I have long been fascinated with how writing systems in the world are related. I am so glad I have found the book called "Ideogram: Chinese Characters and the Myth of Disembodied Meaning" by J. Marshall Unger which has one section dedicated to the comprison between cryptograms and pictograms. Interesting enough, what I can first and foremost conclude from this section is that the most difficult language to read is, in fact, Japanese.

Writing systems like Finnish and Spanish are considered nearly ideal phonographies. English and French, which have numerous "irregular spellings," are less perfectly phonographic. Arabic and Hebrew, which usually omit vowel signs, have fewer such regularities but require you to fill in a lot of phonographical information on the basis of your knowledge of the structure of the language; hence, they are even less phonographic. But all systems that use Chinese characters are ipso facto logographic to an extent that alphabetic or syllabic writing systems can never approach. In fact, Japanese is the most logographic writing system of all, because Chinese characters take different readings in Japanese writing depending on the context. Japanese happens to be more logographic than Chinese although some might feel that it should be reversed because Japanese writing also use kana, which are highly phonographic. This is, however, subject to subjective judgement.

According to the paragrapgh above, we can safely say that Japanese is the most difficult language in the world in term of reading.

Sunday, November 13, 2005

มาดูอเมริกันฟุตบอลกันเถอะ


สิ่งหนึ่งของชีวิตนักเรียนที่อเมริกาของผมที่แตกต่างกับชีวิตที่เมืองไทยก็คือการที่ผมได้มีโอกาสเล่นและติดตามกีฬามากขึ้น และกีฬานั้นคงจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจาก อเมริกันฟุตบอล

ตอนอยู่ที่เมืองไทยนั้น การติดตามดูอเมริกันฟุตบอลแบบสดๆนั้นไม่ต่างอะไรกับการเป็นนกฮูกอดหลับอดนอน เพราะเกมแรกที่ทางยูบีซีถ่ายทอดสดก็ปาเข้าไปตีหนึ่งของวันจันทร์ของทุกสัปดาห์ และจะถ่ายถึงสามคู่จนถึงช่วงสายวันจันทร์ และจะถ่ายอีกคู่นึงตอนเช้าวันอังคาร รวมทั้งหมดแล้วสัปดาห์ละสี่คู่ นับว่าถ้าสามารถอดหลับอดนอนได้แล้วหละก็ สามารถดูอเมริกันฟุตบอลได้เต็มอิ่มเลยทีเดียว


ประสบการณ์การดูอเมริกันครั้งแรกของผมคือการได้ดูการถ่ายทอดสดซูเปอร์โบวล์ครั้งที่สามสิบ โดยเป็นเกมที่ดัลลัส คาวบอยส์เจอกับพิตส์เบิร์ก สตีลเลอร์ สถานที่ที่ผมดูนั้นก็คือที่โรงอาหารของโรงเรียนเก่าของผม สวนกุหลาบวิทยาลัย

ผลของการแข่งขันนั้นหลายคนก็คงจะเดากันออกว่า ดัลลัสชนะตามระเบียบด้วยคะแนน 27-17 สมศักดิ์ศรีทีมฟุตบอลแห่งทตศรรษที่ 90s(1990-2000)

แต่เกมนั้นมันจุดประกายให้ผมชอบกีฬานี้มาตลอดจนถึงปัจจุบันนี้ และทีมที่ผมชอบก็คือทีมที่มีชื่อเหมือนกับบล๊อกนี้แหละครับ

หลายคนบอกว่าอเมริกันฟุตบอลเป็นกีฬาที่น่าเบื่อ เพราะการเล่นแต่ละครั้งไม่ต่อเนื่องกัน และมีกฎกติกาที่ซับซ้อน แต่ผมกลับคิดว่าข้อเสียที่หลายคนกล่าวอ้างนี้น่าจะกลายเป็นเสน่ห์ของกีฬานี้มากกว่า

เพราะการหยุดเล่นแต่ละครั้งนั้นเปรียบถึงการให้เวลาฝ่ายบุกให้คิดและเตรียมเล่นการเล่นครั้งต่อไป นอกจากนี้คนดูก็จะได้คิดและติดตามไปด้วยว่าฝ่ายบุกจะเล่นแผนยังไง โดยสามารถสังเกตง่ายๆจากการวางตัวตำแหน่งผู้เล่นของทีมบุก

นอกจากนี้สิ่งที่เป็นเสน่ห์ที่สุดของกีฬาชนิดนี้ก็คือกฎกติกาที่ซับซ้อนนี่เอง กติกาที่ซับซ้อนนี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงอุปนิสัยของคนอเมริกันได้นะครับ สังคมอเมริกันเป็นสังคมที่เปิดโอกาสให้คนในสังคม ใครใคร่ทำอะไรก็ทำได้ก็จริง แต่อีกทางหนึ่งก็คือ ใครอยากทำอะไรก็ได้แต่ต้องอยู่ในกฎกติกาของสังคม สังคมอเมริกาไม่ใช่สังคมอุปถัมป์เหมือนสังคมในเอเชีย และน้อยครั้งที่จะถือกฎหมู่เหนือกฎหมาย และกฎหมายต่างๆของอเมริกาในความคิดผมนั้นก็ยุ่งยากซับซ้อนและต้องเป็นลายลักษณ์อักษรที่แน่นอน

และกฎกติกาต่างๆที่ซับซ้อนในกีฬาอเมริกันฟุตบอลนั้นก็สมเหตุสมผลมากๆ กล่าวคือมีเหตุผลชัดเจนในการตั้งกฎขึ้นมา ไม่ได้ตั้งขึ้นมามั่วๆหรือเพื่อประโยชน์ของฝ่ายรับหรือฝ่ายบุกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่นก่อนการเล่นแต่ละครั้งทีมบุกจะไม่สามารถขยับตัวหลอกฝ่ายรับได้ เนื่องจากว่าลำพังทีมรับก็ต้องมีความยากลำบากในการเดาแผนการเล่นของทีมบุกอยู่แล้ว แล้วถ้าผู้เล่นทีมบุกทุกคนขยับตัวไปไหนมาไหนได้ละก็ ก็คงไม่ต้องตั้งรับกันละครับ เพราะคงเดาทางกันไม่ถูก หรืออย่างเช่นห้ามผู้เล่นดึง กระชากผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่ได้ถือบอลอยู่ จะทำได้ก็เพียงแต่ผลักหรือกันทางเท่านั้นเพราะว่าถ้าดึงได้อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่ต้องไปไหนกันละครับ ต่อให้แข็งแรงกว่าแต่ถ้าหลุดหน่อยก็ถูกดึงหมด หรือการทีมเตะคิกออฟแต่ละครั้งหลังการทำคะแนนห้ามเตะลูกบอลออกนอกสนามนั้น ก็เพื่อให้โอกาสฝ่ายที่ถูกทำคะแนนมีโอกาสทำคะแนนโต้กลับบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตอนเวลาใกล้หมด เช่นตอนที่เหลือเวลาไม่ถึงสิบวินาทีหรืออะไรประมาณนี้ เพราะถ้าเหลือเวลาซักห้าวินาที แล้วฝ่ายที่ทำคะแนนได้เตะคิกออฟออกนอกสนามไป เกมก็จบ ฝ่ายรับลูกก็ไม่สามารถวิ่งย้อนทำสกอร์ได้ นอกจากนี้กีฬาอเมริกันฟุตบอลยังเป็นกีฬาเดียวในโลก(เท่าที่รู้นะ) ที่อนุญาตให้โค้ชสามารถท้าทายคำตัดสินของกรรมการได้ โดยสามารถท้าได้ครึ่งละสองครั้ง และห้ามท้าหลังจากการเล่นครั้งต่อไปได้ถูกเล่นไปแล้ว และถ้ากรรมการไม่กลับคำตัดสิน ฝ่ายท้าก็จะต้องถูกปรับเวลานอกหนึ่งครั้ง ก็สมเหตุสมผลดี และหลายครั้งครับที่กรรมการกลับคำตัดสิน ทำให้เกมมีความยุติธรรมมากขึ้น กฎนี้พึ่งถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่เมื่อไม่กี่ปีนี้เอง และนี่ก็สนับสนุนข้อดีของการเล่นแบบไม่ต่อเนื่องของกีฬานี้ เพราะสามารถอนุญาตให้กรรมการสามารถพิจารณาคำตัดสินใหม่ได้เมื่อถูกท้า

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายกฎที่ดูเหมือนจะซับซ้อน แต่จริงๆเมื่อเราดูดีๆแล้ว มันเป็นกฎที่จำเป็นที่กีฬานี้จะขาดไม่ได้ เพราะมันมีเหตุผลในตัวของมันเอง

กีฬาอเมริกันฟุตบอลนี้ อาจจะถือได้ว่าเป็นกีฬาที่ไม่ต้องใช้ทักษะมาก ขอให้มีแรงมากๆ วิ่งเร็วก็สามารถเล่นได้แล้ว ทักษะที่สำคัญที่สุดก็คือทักษะการปาลูกของควอเตอร์แบ๊ก ที่จะต้องปาลูกให้ตรงเป้าหมายและลูกจะต้องหมุนเพื่อที่จะให้รับง่าย ด้วยเหตุที่เป็นกีฬาที่ไม่ต้องการทักษะอะไรมาก กีฬานี้จึงเป็นกีฬาที่ใครๆก็เล่นได้ ลองสังเกตดูก็ได้ว่าทำไมบางคนถึงไม่ชอบซ้อคเกอร์ ก็เพราะว่าเขาไม่มีทักษะเพียงพอในการเล่น ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ ไม่สามารถเปิดบอลยาวได้และอีกหลายอย่าง แต่ว่าปัญหานี้จะไม่มีในกีฬาอเมริกันฟุตบอลเพราะกีฬานี้ไม่ได้ใช้ทักษะส่วนตัวที่วูบวาบอะไรมาก และเป็นกีฬาเดียวในโลก(เท่าที่รู้อีกนั่นแหละ)ที่คนอ้วนยันคนผอมสามารถเล่นด้วยกันได้ เพราะกีฬานี้มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจนว่าใครทำอะไร และก็หมายความว่ามีหลากหลายตำแหน่งให้คนเลือกเล่นได้ ใครถนัดอะไรก็เล่นอย่างนั้น อ้วนหน่อยก็เล่นเป็นแนว วิ่งเร็วหน่อยก็เล่นเป็นปีกหรือตัวคุมปีก อ้วนหรือบึกหน่อยแต่ใหญ่ไม่พอที่จะเป็นแนวแต่ก็เร็วไม่พอที่จะเป็นตัวคุมปีก ก็สามารถเล่นเป็นไลน์แบ๊คเกอร์ได้

พูดถึงข้อดีมานาน ข้อเสียก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มี กีฬานี้ถ้าจะเล่นแบบมือโปรจริงๆเล่นยากมาก เพราะต้องใช้อุปกรณ์เยอะ และใช้กรรมการมากมายหลายตำแหน่ง และนักกีฬาประเภทนี้จะมีความเสี่ยงสูงในการเจ็บตัวเพราะเป้นกีฬาที่ต้องใช้การปะทะสูง ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการคิดค้นการเล่นอเมริกันฟุตบอลแบบสมัครเล่นขึ้นมาคือ flag footbal และ two-hand-tack football โดยที่ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องเข้าปะทะตัว แค่ถึงธงหรือแตะด้วยสองมือก็เป็นอันว่าการเล่นเพลย์นั้นจบ

กีฬาอเมริกันฟุตบอลถือว่าเป้นกีฬาประจำชาติอเมริกา (ชื่อก็บอกอยู่แล้วนี่) เมื่อวันหยุดสุดสัปดาห์มาถึงเมื่อไหร่ ก็จะมีเกมฟุตบอลให้ดูตลอด จากฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัยถึงระดับชาติ ทั้งวันเสาร์และวันอาทิตย์ ทั้งวัน เอาเป็นว่าถ้าวันหยุดไม่มีธุระอะไรทำละก็ มีบอลให้ดูแน่นอน จะดูที่สนามก็ได้ หรือจะดูที่บ้านก็ไม่มีใครว่า

มหาวิทยาลัยดังๆที่นี่ก็จะมีทีมฟุตบอลเป็นของตัวเอง และทีมมหาลัยเหล่านี้ก็จะผลิตนักกีฬาป้อนสู่ลีกระดับชาติผ่านการดร้าฟตัวผู้เล่นที่จะมีทุกปี นักกีฬาระดับมหาลัยก็จะต้องพยายามโชว์ฝีมือตั้งแต่ตอนอยู่มหาลัย เพื่อจะได้ต้องตาทีมใน NFL และก็ทำให้การกีฬาในมหาวิทยาลัยเป็นที่นิยมของคนทั่วไป สำหรับการคัดเลือกตัวผู้เล่นนั้น ทีมในNFLที่สถิติไม่ดี ก็จะมีโอกาสเลือกผู้เล่นเก่งๆก่อน ถือเป็นการทำให้ช่องว่างระหว่างทีมเก่งกับทีมอ่อนไม่ห่างจนเกินไปนัก ระบบการจัดการกีฬาของอเมริกามีไม่เหมือนของทางยุโรปหลายอย่างซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมชอบระบบอเมริกันมากกว่า

กีฬาทางยุโรปส่วนใหญ่โดยเฉพาะซ๊อคเกอร์จะค่อนข้างเครียดและพยายามจะรักษาธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่โบราณ เริ่มมาก็ร้องเพลงชาติ และก็เตะ ระหว่างพักครึ่งก็ไม่มีกิจกรรมอะไรเพื่อความบันเทิงของผู้ชม ผู้ชมก็ไม่ค่อยมีส่วนร่วมกับเกมนอกจากนักเครียดดูอยู่ข้างสนามและคอยตะโกนด่ากรรมการเวลาตัดสินไม่เข้าข้างทีมตัวเอง นอกจากนี้ทีมกีฬาเก่งๆรวยๆในยุโรปหลายทีม เก่งอย่างไงก็อย่างนั้น ทีมอ่อนก็อ่อนอยู่อย่างนั้น ไม่มีวันผุดหัวออกจากโคลนตมได้ ก็ด้วยความที่ทีมกีฬาหลายทีมมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน จำเป็นต้องรักษาสภาพความเก่งของทีมให้คงกระพันต่อไป ทีมอ่อนหรือทีมที่พึ่งเกิดใหม่ กี่ร้อยปีก็อ่อนอยู่อย่างนั้น อันนี้เป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่ายๆ เพราะว่าทีมที่เราๆท่านๆเชียร์กันนั้นก็มีอยู่ไม่กี่ทีม และก็เป็นทีมที่เก่ากึกส์ทั้งนั้น ก็ไม่แปลกหรอกครับ เพราะทีมเหล่านี้เล่นดี ก็ต้องเชียร์ทีมพวกนี้อยู่แล้ว ทีมที่ดีขึ้นมาได้ก็ด้วยเงิน นักกีฬาซ๊อคเกอร์หลายคนที่ได้เงินรายสัปดาห์สูงๆก็คอยทำให้กีฬากลายเป็นธุรกิจไปโดยไม่รู้ตัว ผมว่าถึงเวลาที่น่าจะมีการปรับระบบการจัดการกีฬาทางยุโรปให้มีประสิทธิภาพกว่านี้ได้แล้ว เอ๊ะ พูดถึงอเมริกันฟุตบอลอยู่ดีๆ ไหงมาว่าฟุตบอลทางยุโรปได้เนี่ย ไม่รู้จะพูดจาขวางหูใครบ้างหรือเปล่า

以上私のアメフトでした

Thursday, November 10, 2005

Chinese, Korean, and Japanese in comparison


ในที่สุดผมก็เจอหนังสือที่หามานานจนได้ครับ ก็หนังสือที่โพสต์รูปไว้ข้างซ้ายนี่แหละ Writing and literary in Chinese, Korean, and Japanese

หนังสือแนวภาษาเปรียบเทียบนี้ผมว่าหาได้ไม่ง่ายนัก ส่วนใหญ่หนังสือภาษาก็จะเน้นแต่ภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งส่วนตัวแล้วผมคิดว่าเป็นวิธีการเรียนภาษาที่ไม่น่าจะดีที่สุด การเรียนภาษาควรจะเรียนแบบเปรียบเทียบ ให้เห็นถึงลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกันของภาษาที่เราสนใจกับภาษาใกล้เคียง

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อธิบายลักษณะเด่น ข้อเหมือน ข้อแตกต่าง ในทุกแง่มุมทางภาษาศาสตร์โดยเฉพาะระบบการเขียนของภาษาของสามประเทศในเอเชียตะวันออก อันได้แก่ประเทศจีน เกาหลี (เหนือและใต้) และ ญี่ปุ่น และยังมีการเปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษสำหรับกลุ่มผู้อ่านเป้าหมายของหนังสือเล่มนี้

ทำไมต้องมีการเปรียบเทียบภาษาของสามประเทศนี้ด้วย คำตอบก็คือว่าประเทศสามประเทศนี้ถ้าคนไหนรู้เพียงผิวเผินจะคิดว่าเป็นภาษาที่มีลักษณะคล้ายๆกัน เพราะกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกซึ่งถือว่ามีจีนเป็นแม่แบบนั้นถือว่ามีระบบความเชื่อ วัฒนธรรมคล้ายๆกัน เมื่อดูลักษณะเครื่องแต่งกายประจำชาติ สถาปัตยกรรม งานศิลปะ รวมทั้งความคิดและลักษณะภายนอกของคนทั้งสามประเทศนี้ ก็ไม่แปลกเลยที่จะทำให้คิดว่ามันเหมือนกัน ถ้าไม่ศึกษาให้ละเอียดก็คงไม่ทราบว่าจริงๆแล้วมันก็มีข้อแตกต่างปลีกย่อยมากมาย

และในบรรดาข้อแตกต่างปลีกย่อยเหล่านี้ สิ่งที่ถือว่าเป็นทั้งจุดเหมือนและจุดแตกต่างที่เด่นที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นภาษา โดยเฉพาะเมื่อเราพิจารณาว่ากลุ่มประเทศสามประเทศนี้เท่านั้นที่เป็นกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรที่ถูกพัฒนามาจากภาพ หลายคนอาจจะบอกว่าประเทศเกาหลีไม่ได้ใช้อักษรจีนแล้ว แต่ระบบการเขียนของเกาหลีพึ่งมาเป็นที่นิยมกันเมื่อ 50-60 ปีที่ผ่านมาเท่านั้นเอง ช่วงเวลาก่อนหน้านั้นก็ใช้อักษรจีนมาโดยตลอด และช่วงหลังนี้เมื่อมีความพยายามที่จะยกเลิกการใช้อักษรจีน ญี่ปุ่นทำไม่สำเร็จ เกาหลีทำสำเร็จแต่ก็ต้องผ่านช่วงเวลาที่ใช้บ้างไม่ใช้บ้างมาหลายปี

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากความแตกต่างทางไวยากรณ์ของภาษาเกาหลีและญี่ปุ่นกับภาษาจีนแล้วยิ่งทำให้น่าฉงนมากว่าทำไมระบบการเขียนของจีนและคำศัพท์ที่สองประเทศนี้ยืมมาจากภาษาจีนถึงได้ฝังรากลึกในระบบภาษาของทั้งเกาหลีและญี่ปุ่นได้ถึงเพียงนี้

ด้วยลักษณะที่เหมือนกันถึงเพียงนี้ ผมคิดว่าเราน่าจะเอาจุดเหมือนเหล่านี้มาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคนี้ได้ โดยเฉพาะจุดร่วมที่ไม่ค่อยมีใครสังเกตเหล่านี้

ถึงแม้ว่าในยุคร่วมสมัยนี้จะมีความขัดแข้งกันยังไง สุดท้ายแล้วก็หนีความเหมือนทางประวัติศาสตร์ไปไม่พ้น

Chinese, Japanese, South (and North) Koreans in East Asia have a long, intertwined and distinguished cultural history and have achieved, or are in the process of achieving, spectacular economic success. Together, these three peoples make up one quarter of the world population.

They use a variety of unique and fascinating writing systems: logographic Chinese characters of ancient origin, as well as phonetic systems of syllabaries and alphabets. The book describes, often in comparison with English, how the Chinese, Korean and Japanese writing systems originated and developed; how each relates to its spoken language; how it is learned or taught; how it can be computerized; and how it relates to the past and present literacy, education, and culture of its users.

Readers of the book will learn about the interrelated cultural histories of China, Korea and Japan, but mainly about the various writing systems, some exotic, some familar, some simple, some complex, but all fascinating.

To Paul Samuelson, one of the greatest economists of all times



Perhaps more than anyone else, Paul A. Samuelson has personified mainstream economics in the second half of the twentieth century. The writer of the most successful principles textbook ever (1948), Paul Samuelson has been not unjustly considered the incarnation of the economics "establishment" - and as a result, has been both lauded and vilified for virtually everything right and wrong about it.

Samuelson's most famous piece of work, Foundations of Economic Analysis (1947), one of the grand tomes that helped revive Neoclassical economics and launched the era of the mathematization of economics. Samuelson was one of the progenitors of the Paretian revival in microeconomics and the Neo-Keynesian Synthesis in macroeconomics during the post-war period.

The wunderkind of the Harvard generation of 1930s, where he studied under Schumpeter and Leontief had a prodigious grasp of economic theory which has since become legendary (an unconfirmed anecdote has it that at the end of Samuelson's dissertation defense, Schumpeter turned to Leontief and asked, "Well, Wassily, have we passed?").

From http://cepa.newschool.edu/het/profiles/samuelson.htm