Tuesday, June 28, 2005

สุขสันต์วันเกิด มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๗ ฤกษ์ ๑๕.00 นาฬิกาตรง ท่านผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัย ดร.ปรีดี พนมยงค์ได้กราบทูลรายงานการก่อตั้งมหาวิทยาลัยต่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งเสด็จมาเป็นประธานในพีธีเปิดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เพราะในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ ดังนี้

วันนี้เป็นวันมงคลดิถีบรรจบพบกัน ๒ ประการประการหนึ่ง วันที่ ๒๗ มิถุนายน นี้ เป็นวันพระราชทานรัฐธรรมนูญชั่วคราวแห่งพระราชอาณาจักรสยาม ประการที่สอง มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ได้พยายามเร่งรัดดาร เพื่อดำเนินการสอนวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองตามพระราชบัญญัติที่ได้ประกาศตั้งมหาวิทยาลัยนี้ขึ้นให้ทันในวันที่ ๑ กรกฎาคม นี้

การตั้งสถานศึกษาตามลักษณะของมหาวิทยาลัยย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์และเป็นปัจจัยในการแสดงความก้าวหน้าของประเทศ ประชาชนชาวสยามจะเจริญในอารยธรรมการศึกษาอันดี ตั้งแต่ชั้นต่ำตลอดจนถึงการศึกษาชั้นสูง เพราะฉะนั้นในการที่จะอำนวยความประสงค์และประโยชน์ของราษฎรสมัยนี้จึงจำต้องมีการศึกษาให้ครบบริบูรณ์ทุกชั้น

มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาดังบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎรผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา รัฐบาลและสภาผู้เเทนราษฎรเห็นความจำเป็นในข้อนี้ จึงได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น
ในปัจจุบัน ประเทศสยามมีความประสงค์อันยิ่งใหญ่ที่จะปรับระดับการศึกษาของราษฎรให้ถึงขนาดเหมาะแก่กาลสมัย ถ้าระดับการศึกษายังไม่เจริญถึงขนาดตราบใด ความก้าวหน้าของประเทศก็ยังจะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นอีกนาน ยิ่งในสมัยที่ประเทศของเราดำเนินการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญเช่นนี้เเล้ว เป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมหาาวิทยาลัยสำหรับประศาสน์ความรู้ในวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองแก่พลเมืองให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ เปิดโอกาสให้แก่พลเมืองที่จะใช้เสรีภาพในการศึกษากว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติสืบไป


นับแต่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองได้ตั้งขึ้นแล้ว ปรากฏว่าได้รับความนิยมของมหาชนเกินความคาดหมาย โดยมีผู้สมัครเข้าเรียนในชั้นนี้ถึง ๗,o๙๔ คน แม้ผู้ที่ได้ละทิ้งการศึกษามานานแล้ว ก็กลับเริ่มศึกษาในฐานะเป็นนักเรียนของมหาวิทยาลัย นับได้ว่าบรรลุผลชั้นต้นของความมุ่งหมายที่จะได้เรียนรู้วิชาธรรมศาสตร์และการเมืองกันอย่างแพร่หลาย

บัดนี้ กิจการของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองได้ดำเนินมาโดยเรียบร้อย เตรียมพร้อมที่จะเปิดทำการประศาสน์วิชาให้สมกับความประสงค์ของพระราชบัญญัติเเล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูลอัญเชิญฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้ทรงเปิดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเป็นปฐมฤกษ์เพื่อความสวัสดิมงคลให้บังเกิดความวัฒนาถาวรแก่มหาวิทยาลัยนี้สืบไป
ควรมิควรแล้วแต่จะกรุณาโปรดเกล้าฯ

เมื่อผู้ประศาสน์การกล่าวคำกราบทูลจบลง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ทรงกล่าวตอบดังต่อไปนี้

ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้เห็นมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองตั้งขึ้นเป็นปึกแผ่นแน่นหนา รัฐบาลนี้เเละสภาผู้แทนราษฎรมีความคิดเห็นอันถูกต้องในการที่จัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้ขึ้น ข้าพเจ้าเห็นสอดคล้องด้วยถ้อยคำที่ท่านกล่าวมาว่า ในสมัยนี้ประเทศของเราจะต้องเผยแพร่วิชาธรรมศาสตร์และการเมืองให้แพร่หลายเพื่อปวงชนจะได้รับทราบความเป็นไปในบ้านเมืองที่ทุกคนเป็นเจ้าของ

ข้าพเจ้ารู้สึกปิติ ที่ได้รับว่ามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองได้รับความนิยมของมหาชน จนมีนักศึกษามากหลายดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ข้าพเจ้ามีความหวังอย่างมั่นคงว่า มหาวิทยาลัยนี้จะดำรงถาวร และดำเนินการโดยสมความปรารถนาทุกประการ
ข้าพเจ้าของเปิดมหาวิทยาลัยนี้ ด้วยสัจจาธิษฐาน ขออำนาจพระศรีรัตนตรัยให้คุ้มครองมหาวิทยาลัยวิชาธรรมสาสตรร์และการเมือง พร้อมทั้งอาจารย์และนักศึกษาทั้งหลาย ตลอดจนเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ขอให้มหาวิทยาลัยนี้มั่นคงถาวรยืนนานบรรลุถึงความสำเร็จอย่างไพศาลสมบูรณ์ ขอให้มหาวิทยาลัยนี้จงเป็นที่เกื้อกูลวิชาการเมือง ให้นักศึกษามีความเจริญรุ่งเรือง สามารถจะกระทำกิจอันเป็นประโยชน์แก่ชาติและประเทศต่อไปข้างหน้า เทอญ

และมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองก็ได้ถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๗ นี่เอง

Saturday, June 25, 2005

หน้าที่ของนักเรียนนอก

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสดูรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” คุณสนธิได้ใช้เวลาเกือบค่อนรายการพูดถึงความคิดของเขาที่ว่า “สังคมไทยได้ล่มสลายลงไปแล้ว” คุณสนธิเน้นว่าตอนนี้สังคมไทยได้สูญเสียจิตวิญญาณความเป็นไทยไปหมดเเล้ว โดยจะเห็นได้จากตอนนี้ที่มีข่าวการคอรัปชั่นกันทุกรูปแบบ โกงกันเป็นชีวิตประจำวัน ข่าวการจับบ่อนการพนันครั้งใหญ่ และยังมีข่าวรุ่นพี่ทรมานรุ่นน้องในการรับน้อง สิ่งต่างๆเหล่านี้มันแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยถึงจุดวิกฤต เป็นสังคมที่ไม่มีความพอเพียงอีกต่อไป

ผมนั่งฟังไปฟังมา ผมก็ได้ข้อสรุปว่า “ผมเห็นด้วยกับคุณสนธิ” ครับ และผมก็เชื่อว่ามีท่านผู้อ่านหลายท่านก็มีความคิดเห็นเช่นเดียวกัน

ผมย้อนคิดเปรียบเทียบเวลาปัจจุบันกับเวลาเมื่อผมยังอยู่ที่ญี่ปุ่น ตอนผมอยู่ญี่ปุ่นนั้น แม้ผมจะอยู่ที่ญี่ปุ่นครั้งล่าสุดเพียงแค่หนึ่งปี ยอมรับว่าผมไม่ค่อยได้ติดตามข่าวคราวเมืองไทยมากนัก เวลาที่ผมใช้ส่วนใหญ่จะเป็นการท่องเที่ยว สังเกต และศึกษาขนบ ธรรมเนียม วัฒนธรรมของญี่ปุ่นเสียมากกว่า และผมก็รู้สึกว่าผมมีความสุขดี โดยหารู้ไม่ว่า ณ ขณะนั้นประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของผมกำลังเผชิญกับปัญหามากมาย

แต่เมื่อกลับมาเมืองไทยและอยู่เมืองไทยอย่างถาวรมาประมาณหนึ่งเดือนเศษ ผมเริ่มรู้สึกว่าเมืองไทยนั้นมีปัญหาอยู่มากมายจริงๆ เริ่มรู้สึกว่าประเทศไทยยังล้าหลังประเทศพัฒนาเหล่านั้นอีกมาก ไม่เพียงแค่ทางวัตถุเท่านั้น ทางจิตใจก็ด้วย ผมเกิดคำถามในใจมากมายเช่นว่า ทำไมเจ้าหน้าที่สนามบินดอนเมืองถึงได้หน้าบึงตึงอยู่ตลอดเวลา ช่างแตกต่างจากที่ญี่ปุ่นยิ่งนัก ทำไมเมืองไทยถึงสกปรก ไม่เป็นระเบียบ แผงลอยข้างถนนก็ยังคงขายกีดขวางทางสัญจรของคนเดินเท้าอยู่อย่างนั้น เพียงแค่อ้างว่า “ขายมานานแล้ว” ทำไมรถเมล์เมืองไทยถึงเก่ากึกส์ สกปรก เวลามาป้ายไม่มีมาตรฐาน ทำไมนักการเมืองถึงไม่ลด ละ หรือเลิกคอรัปชั่นเสียที ทั้งๆที่ในหลวง พระองค์ก็ทรงว่ากล่าวตักเตือนมาตลอด ทำไมนโยบายประหยัดพลังงานถึงใช้ไม่ได้ผล ประสบความล้มเหลวอย่างสมบูรณ์แบบ ทำไมช่วงเวลาน้ำมันแพงอย่างนี้ ไม่มีผู้ประกอบการคนใดเสียสละตรึงราคาสินค้าของตนเลย ทั้งๆที่ก็รู้ว่าทุกคนในประเทศโดยเฉพาะคนจนกำลังลำบากมาก ฯลฯ

ในฐานะที่ผมเคยไปศึกษาต่างประเทศมาบ้าง ผมคิดว่านักเรียนนอกน่าจะแบ่งเป็นสองประเภท ประเภทแรกนั้นเป็นประเภทนักเรียนนอกหัวสูง ที่คอยที่จะว่าแต่เมืองไทย หาว่าเมืองไทยดักดาน หาส่วนดีไม่ได้ ไม่น่าอยู่ แล้วคอยแต่ชมฝรั่ง ชมประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างโน้นอย่างนี้ พูดง่ายๆว่าคือพวกวัวลืมตีนนี่เอง


กับอีกประเภทหนึ่งเป็นนักเรียนนอกที่มีอาการที่ศาสตราจารย์เบเนดิก แอนเดอสันนิยามว่า “ปิศาจเปรียบเทียบหลอน (specter of comparisons)”

กลุ่มคนที่มีแนวโน้มที่จะมีอาการปีศาจเปรียบเทียบหลอน ส่วนใหญ่แล้วคือหมู่นักเรียนนอกจากประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายที่เคยไปใช้ชีวิตอยู่ในประเทศพัฒนาที่เจริญแล้ว ได้ไปเห็นความเจริญก้าวหน้า เทคโนโลยีที่ทันสมัย สภาพสังคมที่สงบสุข ก็เลยเกิดการเปรียบเทียบประเทศที่ตนได้ศึกษาเล่าเรียนมากับประเทศบ้านเกิด เกิดการเปรียบเทียบว่าประเทศที่ตนได้เล่าเรียนมานั้นเป็นดินแดนศิวิไลซ์ เจริญก้าวหน้า อากาศดี ผู้คนมีคุณภาพ ในขณะที่เกิดคำถามว่าทำไมประเทศไทยถึงไม่เจริญก้าวหน้า ไม่เพียงแค่ทางวัตถุอย่างเดียว ทางจิตใจก็ยังไม่เจริญอีกด้วย และก็คิดต่อไปได้ว่าปัญหาก็คือพวกชนชั้นปกครองที่คอยคิดที่จะโกงกิน คิดแต่จะโกยผลประโยชน์เข้าสู่กระเป๋า และนี่ก็เป็นที่มาของความเสียสละ ความเป็นชาตินิยม ความรู้สึกที่ต้องการจะฟื้นฟู หรือสร้างชาติของตนขึ้นมา ซึ่งแตกต่างกับนักเรียนนอกในกรณีเเรก

เราจะเห็นนักชาตินิยมประเภทนี้ได้มากมาย เอาแค่ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราสามารถรับรู้ได้จากประวัติ ผลงานของนักต่อสู้หลายท่านเช่นอองซาน ซูจี ในพม่าซึ่งมีอายุครบ 60 ปีไปหมาดๆ โฮจิมินท์ในเวียตนาม ซูการ์โนในอินโดนีเซีย นอกจากนี้ในประเทศไทยของเราเองก็เช่น อาจารย์ปรีดี พนมยงค์และกลุ่มคณะราษฎร์ เป็นต้น

ท่านทั้งหลายเหล่านั้นต่างได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ หรือไม่ก็ได้รับการศึกษาจากฝรั่ง และเมื่อร่ำเรียนสำเร็จแล้วก็กลับมารับใช้ชาติบ้านเมืองของตนเองอย่างเต็มความสามารถ สำเร็จบ้าง ล้มลุกคลุกคลานบ้าง แต่อย่างน้อยท่านทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้ทำ “หน้าที่ของนักเรียนนอก” ของตนเองได้สมบูรณ์แบบ สมควรที่จะเป็นแบบอย่างของนักเรียนนอก ณ ตอนนี้อย่างยิ่งครับ

Saturday, June 18, 2005

การปฐมนิเทศนักเรียนทุนรัฐบาล

ตามที่ผมได้เกริ่นไปในบทความที่แล้วเกี่ยวกับกิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนทุนรัฐบาลเมื่อวันที่ 31 พ.ค.ถึง 2 มิ.ย. ผมคิดว่าโอกาสที่จะไปฟังการปฐมนิเทศนี้มีแค่ครั้งเดียวในชีวิต และมันก็มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย สมควรที่ผมจะนำมาบอกเล่า90กับท่านผู้อ่านที่เคารพรักทุกท่าน

แรกเริ่มเมื่อดูกำหนดการต่างๆของการปฐมนิเทศนี้แล้ว ผมก็คิดว่าน่าสนใจครับ เพราะส่วนใหญ่เขาเชิญผู้หลักผู้ใหญ่ของ ก.พ.และบุคคลที่มีชื่อเสียงมาให้โอวาทและถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลที่เขาเน้นย้ำเป็นพิเศษว่า การเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไม่ได้รับประกันการประสบความสำเร็จเสมอไป

นอกจากนี้ยังมีที่กิจกรรมการสร้างเครือข่ายนักเรียนทุนรัฐบาล การบรรยายโดยคุณพะนอม แก้วกำเนิด เรื่องการเป็นข้าราชการที่ดีภายใต้เบื้องพระยุคลบาท (อาจจะฟังชื่อดูแล้วน่าเบื่อ แต่จริงๆแล้วสนุกสุดๆๆๆๆๆๆๆๆ)และการบรรยายโดยดร.สุวิทย์ ยอดมณี เรื่องเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของชาติ สรุปแล้วการปฐมนิเทศครั้งนี้มีเนื้อหาที่สามารถแบ่งได้เป็น 2 หัวข้อง่ายๆ คือ

1. การไม่ประสบความสำเร็จของนักเรียนทุนรัฐบาล
2. การประสบความสำเร็จของนักเรียนทุนรัฐบาล

เป็นไง หัวข้อที่ผมแบ่ง ง่ายเกินไปมั้ย ผมคิดว่าไฮไลท์ของการปฐมนิเทศครั้งนี้ก็อยู่ที่การไม่ประสบความสำเร็จของ นรท.เนี่ยแหละครับ ทั้งตอนระหว่างเรียนอยู่กับตอนกลับมาทำงานแล้ว

มี นรท.หลายคนครับที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเรียน สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ คนไม่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะมีความมั่นใจในตัวเองสูง คิดว่าตัวเองเก่ง คิดว่าข้าแน่ ข้าเป็นที่หนึ่งของประเทศ แพ้ใครไม่เป็น สิ่งที่คนพวกนี้ลืมไปก็คือ จริงอยู่ที่เขาอาจจะเก่งมากในเมืองไทย แต่เมื่อเขาออกไปเผชิญโลกกว้าง ได้ไปพบกับคนเก่งจากหลากหลายประเทศทั่วโลกเมื่อคราวไปเรียนต่อ เขาจะไม่ใช่คนเก่งที่สุดอีกต่อไป สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทาง ก.พ.เน้นเป็นพิเศษครับ มีนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง 2-3 คนที่เป็นแบบนี้ สุดท้ายก็เรียนไม่รอด ต้องกลับมาเรียนปริญญาตรีที่เมืองไทยครับ

ดังนั้นเมื่อคิดได้แล้วว่าเราไม่ใช่คนเก่งที่สุดเสมอไป สิ่งที่ก.พ. เน้นเป็นพิเศษอีกก็คือ อย่าเรียนอย่างเดียว ต้องเข้าสังคม ต้องทำกิจกรรมต่างๆด้วย ส่วนใหญ่นักเรียนที่คิดว่าข้าเก่ง มักจะทำอะไรทำคนเดียว อ่านหนังสือก็อ่านคนเดียว ทำการบ้านก็ทำคนเดียว สุดท้ายเกรดสู้คนหัวดีน้อยกว่าไม่ได้ หัวดีสำคัญครับ แต่สำคัญน้อยกว่าความร่วมมือกันระหว่างเพื่อนร่วมเรียน

สิ่งสำคัญต่อมาที่ทำให้ นรท.ไม่ประสบความสำเร็จก็คือ ความเหงาครับ มีนรท.คนหนึ่งไปอยู่อเมริกา ที่ลองไอแลนด์ เมืองไม่มีคนไทยอยู่เลย นักเรียนคนนี้จะเป็นคนที่ตื่นตระหนก กระวนกระวายง่ายมาก เพราะจะคิดอยู่เสมอว่ามีคนตามหลังเขามา เขาไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ได้แต่ส่งอีเมล์ และโทรศัพท์มาหาสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยในอเมริกาวันละสองสามครั้ง ทุกวันจนนักเรียนไทยคนนี้ไม่เชื่อใครอีกต่อไปแล้วนอกจากพี่คนหนึ่งที่สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนคนที่คอยบอกและให้กำลังใจเขาตลอดเวลาว่าต้องทำอย่างไรบ้าง สุดท้ายรู้สึกว่าเด็กคนนี้จะเรียนไม่จบ ต้องกลับมาเมืองไทยครับ

อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันที่ทางก.พ.เล่ามาก็คือ พวกฝรั่งเขาจะมีโรคอยู่โรคหนึ่งครับ ผมจำชื่อภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่อาการของมันคือ คนที่เป็นโรคนี้อยู่ๆก็จะอารมณ์เสียง่าย อยู่ๆก็หัวเสีย ด่าทอคนอื่นเสียๆหายๆ โดยที่สาเหตุนั้นอาจจะไม่มีอะไรเลย ที่สำคัญก็คือมีเด็กไทยบางคนเมื่อไปอยู่อเมริกาแล้ว เกิดติดโรคนี้ขึ้นมา ทำอาหารไทยแล้วอยู่ก็ชักมีดไล่ฟันเพื่อนเข้าซะอย่างงั้น เดชะบุญที่ไม่มีอะไรร้ายแรงเกิดขึ้น(คิดเองนะ)

เรื่องทางจิตใจผ่านไปแล้ว มาถึงเรื่องทางกายบ้าง นักเรียนไทยเมื่อไปอยู่ต่างชาติต่างภาษา ย่อมจะต้องเพิ่มความระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุให้มาก มีอุทาหรณ์อยู่เรื่องหนึ่งครับ พึ่งเกิดมาประมาณเดือนเดียวเอง เรื่องคือมีนักเรียนทุนรัฐบาลเรียนที่อยู่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ชอบการขี่จักรยานเป็นชีวิตจิตใจ ที่น่าเศร้าก็คือวันหนึ่งเขาขี่จักรยานข้ามถนน แต่ไม่ดูให้รอบคอบ รถเมล์สองชั้นขับเลี้ยวซ้ายมาพอดี ถูกรถเมล์ทับเสียชีวิตคาที่เลย เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ได้เป็นอย่างดี สำหรับนักเรียนไทยทุกคนที่อยู่ต่างประเทศนะครับ

เรื่องความสัมพันธ์กับอาจารย์ที่ปรึกษาก็สำคัญครับ มีนักศึกษาไทยอยู่คนหนึ่งเรียนที่อังกฤษมาหกปีแล้ว ยังไม่จบเลย เพราะเขาไม่สามารถหาหัวข้อวิจัยได้ แต่แทนที่เขาจะไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเขา เขากลับพยายามหนี หลบหน้า ไม่ยอมเจออาจารย์เขาเลย คงจะเป็นเพราะอาย ไม่กล้าสู้หน้าเพราะตัวเองทำวิจัยไปไม่ถึงไหนกระมัง แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้อนาคตท่าทางจะแย่ซะแล้ว

เรื่องความคาดหวังของพ่อแม่ญาติพี่น้อง นี่ก็เป็นปัญหาสำคัญครับ เรื่องนักเรียนทุนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนกระโดดตึกฆ่าตัวตายที่เยอรมันลืมไปหรือยังครับ เรื่องนี้ผมได้ยินมาว่าไม่กี่คืนก่อนกระโดดตึกนั้น เขาได้โทรมาหาพ่อแม่เขาที่เมืองไทย บอกว่าไม่ไหวแล้ว อยากกลับเมืองไทยมาก แต่ด้วยความที่พ่อแม่ของเขาอายคนรู้จักที่ว่าลูกตัวเองเรียนไม่จบกลับมาเมืองไทย ก็เลยขอร้องแกมบังคับให้ลูกอยู่ต่อ ผลก็เลยเป็นแบบนี้แหละครับ เนื่องจากคงไม่มีพ่อแม่คนไหนอ่านบทความของผมตรงนี้ ดังนั้นผมจึงอยากให้เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ต่อท่านผู้อ่านทั้งหลายที่กำลังเป็นนักเรียนอยู่ตอนนี้ครับ

นอกจากระหว่างเรียนอยู่แล้ว ก็ไม่ใช่นักเรียนทุนทุกคนที่เรียนจบกลับมา จะสามารถประสบความสำเร็จกันทุกคน สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากก็คือความทรนงตน คิดว่าตนเองเป็นนักเรียนนอก หัวก้าวหน้า เมื่อกลับมาแล้วก็จะพยายามเปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี่ในหน่วยงาน ไม่พอใจอะไรซักอย่างเดียว สิ่งนี้ผมว่าสำคัญมากๆครับ และสิ่งนี้นี่เองครับที่เป็นตัวถ่วงที่สำคัญที่จะทำให้นักเรียนนอกไม่สามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จให้กับตนเอง หน่วยงาน สังคมและประเทศชาติได้สมตามความมุ่งหมายดั้งเดิมของก.พ. เมื่อกลับมาเมืองไทยแล้วนอกจากจะมีความทรนงตนแล้ว ยังมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกว่าจบมาจากประเทศไหน สิ่งพวกนี้มันเป็นสิ่งที่ควบคุมยากนะครับ ดังนั้นผมคิดว่านอกจากนักเรียนนอกจะต้องเรียนรู้ทางวิชาการแล้ว ยังต้องพยายามเรียนรู้การทำงานเข้ากับผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่ดูแล้วมี "ความอาวุโสทางการศึกษา" น้อยกว่า

นอกจากนี้สิ่งที่ผมเห็นด้วยกับทางก.พ.อีกข้อหนึ่งก็คือไม่ว่านักเรีบนจะอยู่ประเทศไหน สิ่งสำคัญคือต้องพยายามคบนักเรียนไทยไว้บ้าง ไม่ใช่ว่าจะเรียนภาษา หาประสบการณ์อย่างเดียว ยามเรามีปัญหา ไม่มีใครที่ไหนจะมาช่วยเราหรอกครับ นักเรียนไทยด้วยกันนี่แหละครับจะเป็นที่พึ่งได้ดีที่สุด สมาคมนักเรียนไทยต้องมีนโยบายที่พยายามทำให้นักเรียนไทยเกาะกลุ่มกันไว้ แต่ไม่ต้องแน่นมาก ที่สำคัญที่ควรจะเน้นกว่าความสนุกสนานของกิจกรรมที่จัดเพื่อกระชับมิตร ก็คือยามใดที่นักเรียนไทยคนใดคนหนึ่งมีปัญหา นักเรียนไทยกลุ่มใหญ่จะสามารถช่วยเหลือเขาได้อย่างไร ผมคิดว่าสิ่งนี้สำคัญกว่ามากครับ

ขึ้นชื่อว่านักเรียนทุนรัฐบาลย่อมเป็นกลุ่มคนที่มีเกียรติ ถือเป็นตัวแทนของประเทศไทยที่จะต้องทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีของนักเรียนไทยด้วยกัน เมื่อกลับมาแล้วต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่การงานให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี การประสบความสำเร็จที่ผมพูดถึงนั้นไม่ใช่เป็นความก้าวหน้าในการงาน มีเงินเดือนสูงๆ มีอำนาจมากๆ แต่มันคือการที่เราจะสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มาจากต่างประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้พื้นฐานของความสามัคคีได้อย่างไร

大阪大学留学生センター平成16年度春学期日本語研修コース中間発表:タイが尊敬するものとタイ社会のタブー

タイの国旗は赤が国民と国家、中央の青がタイ王室、白が仏教への信仰を象徴(しょうちょう)しています。タイの国旗をご覧いただくと、タイ人は何を非常に尊敬しているかをすぐわかります。

国王

タイ人にとって国王は神聖な存在なので、国王または王族に対して、非常に強い尊敬と敬愛を持っています。タイの国王は昔、武士と統治者でした。スコータイ時代から国王は国民のことを思う王なので、国民が父と呼んで敬愛していました。明治天皇の同じ時代のタイの国王ラーマ5世は奴隷(どれい)制度を廃止して、教育制度などを整備して、タイの近代化を図って(はかって)、優れた外交政策を用いて、タイの独立国家としての地位を保ってきました。現在の国王のプーミポン国王は即位(そくい)後全国を視察して回って、貧しい(まずしい)国民の生活向上のために2千以上のキングプロジェクトを発案して、貧困と戦う農業王として敬愛されています。ですから、外国人でも、王族の悪口などを侮辱するような言動をすることは許しません。法律的にも禁止しています。

また、タイの映画館では上映開始前に必ず、王様の映像とともに国王賛歌が流されるため、全員起立しなければなりません。朝8時と夕方(ゆうがた)6時には毎日、公共の場、テレビやラジオで、国家が流れる。この時は、歩いていても、全員立ち止って起立しなければなりません。バンコクでは一部ですが、田舎に行くと、全ての車がその時にその場に停まってしまいます。国王の写真、国旗、王室の旗、お札にも尊敬を持って扱うことが通常のことになっています。お札に関しては、たたむ場合に国王の御顔がある側を外側にします。

仏教

タイでは憲法で仏教の国教化を規定していますが、信教の自由を保障しています。それでも、国民の約90%が仏教徒で、どこの町にもお寺がたくさんあります。僧侶は特別な存在として崇拝(すうはい)・尊敬されています。早朝には、托鉢(たくはつ)の僧(そう)に、進んでタムブンする市民もたくさん見られます。タムブンとはよくて望ましい状態になるための行為をなすことです。タイでは、今でも男性の多くが一生に一度は僧侶として出家するという伝統があります。バスでも僧侶のために、出入り口近くの優先席が設けられて、一般の人はその隣に座ってはいけません。ここに書いてあるのはお坊さん専用座席です。僧侶は国民の尊敬を受けるべき者ですから、もし話す機会があったらその対応には注意すべきです。高僧ともなれば、国王さえ頭を下げる存在です。僧侶ではないのに僧服を着ると、犯罪になります。

僧侶や王族の写真と仏像

タイでは職場や公共の場、一般の家などにも、よく王族の写真や仏様の写真や仏像が高いところに掲げ(かかげ)て、飾られています。職場の場合、朝出社したとき、夕方退社するときなどに、この写真に向かって、ワイをする職員も結構います。タイ人の多くは、やはり信仰と尊敬の対象として敬って(うやまって)いるため、そういった写真を低いところに置いてはいけない。たとえ、掃除などで外す場合でも、床などに無造作に置いたりすることは禁物です。

タイ人は以上の写真、お寺、仏像を大切に敬っていますので、外国人が芸術的精神からでも、これらを背景にしたヌード写真など取ったり、仏像によじ登り記念写真を撮ったりすることは禁物です。



タイでは頭は最も尊い(とうとい)ものと考えられています。日本では、よく気軽いに子供を愛するのに頭を撫で(なで)たりしますが、タイでは日本と同じように見知らぬ子供の頭を不用意に触ったり、撫でたりしないほうがいいです。

タイ社会のタブー

タイと日本では、環境も違うし、習慣も違います。おなじ人間なんですけど、その考え方や行動にも違いがあります。しかし、タイ人と日本人との間に経済的な格差以外な差はありません。

女性の身体に触れる

タイでは、女性の役割が日本よりも重要視されているのがはっきりと見て取れます。公務員や官庁でも、民間企業でも、どのような職業でも、女性がたくさん活躍していて、社会的にも評価されています。タイ人の男性部下も、上司が女性であることに対しては、まったく普通のことと考えています。何らについて、疑問を感じたりすることはなく、当然のことと受け止めています(思います)。私の経済学部にも女性教授がたくさん活躍しています。タイで女性について基本的に注意すべきことは特別な場所以外では男性が女性の手や身体を触ったり、肩(かた)をたたいたりすることは、昔から日本よりも厳しいです。素人の女性に気軽に触れて凄い(こわい)顔されて驚きます。

服装

女性で短パン、ノースリーブ、ミニスカート、タンクトップ、スパッツ、男性で短パン等肌を露わ(あらわ)にする格好では観光出来ない場所が多いです。露出(ろしゅつ)度の多い服装などラフな格好は避けて、正装を心がけるようにすべきです。また、女性の場合はスカートが正装で、ロングスカートを着用していたほうがいいです。

足でモノや人を指す

タイでは、足は不浄なものとされて、足を机のうえにのせたり、足を使って、物を指したり,蹴ったり(けったり)、足の裏を相手に向けたりするのは、かなり侮辱的なものです。これらの行為については、日本人以上に、タイ人は敏感(びんかん))なので、注意すべきです。国技のムエタイだけは別ものです。(笑)

タイ族系では東北部のラオス系、北部のタイルー系、東北の南部のクメール系、中央のタイ系、モン系,カレン系、ビルマ系、中国系のタイ人を見ても、その出身地などで潮州(しおしゅう),広東(かんとん)、福(ふっ)建(けん)、海南(かいなん)、客家(はっか)、台湾と分かれている。インド系も不動産・繊維(せんい)産業に従事(じゅうじ)するシーク教徒、豆売りのタミール系、ロティ売りのベンガル系とさまざまな人種の人々がタイ国籍を持って、国王を敬愛して、タイ語を使っています。現在のタイ人は、西洋人や日本人に対して、とても暖かく,慣れています。タイ人の中には、機会があれば、西洋人や日本人と親しくなりたいと思っている積極的な人も多いようで、タブーについてはあまり気にしないところがあります。

หมายเหตุ: เนื้อหาของการนำเสนอนี้มาจากหนังสือ "รู้จักไทย เข้าใจญี่ปุ่น" ของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

バブル崩壊後の日本と景気対策: Japanese Bubble Burst and the Countermeasures

皆さん ものには適正な価格があるとご存知ですか。例えば、CDのアルバムは一枚大体いくらくらいですか。大体3000円ぐらいで売られていますね。この価格は普通のCDの適正価格です。

もし、急に普通のcdが一枚15万円で売られるとしたら、皆さんは買いますか。どなたもお買わないでしょう。

土地や株についても同様に適正な価格があります。土地は本来、家などを建てるためにありますから、「その場所に家を建てるとどのくらい便利で快適か」などをチェックすることによって、その土地の適正な価格が決まります。

80年代の後半から土地の価格は必ず上がり続けるという土地神話が広く信じられるようになり、みんなが競うように土地や株を買っていて、!土地や株の価格はどんどん高くなり、適正な価格からどんどん外れて、異常なくらいに上がってしまっていました。!このときに、バブルが発生するようになりました。

その結果、みんなが持っている土地や株の価格は何倍も上がっていったので、みんながお金持ちになった気分になって、何億円もする超豪華な家を建てたり、何億円もする絵画を買ったり、ものすごく高いブランド品を買ったりしました。!このようにして得た富はいわばシャボン玉のようなものです。実際はとても小さい物なのに、価格が上がっていってから、!シャボン玉のように実体からかけ離れて実際の何倍も大きくなります。

グラフをご覧いただくと80年代の後半の日経平均価格と!市街地価格指数がどんどん上がっていく傾向がありました。

土地や株の価格が上昇するのを防ぐために日本政府や日銀が何とか景気を抑えるようにしました。

その結果、お金回りが悪くなり、人々が貧乏になり、土地や株を買う人がどんどんいなくなり、土地の価格がどんどん下がっていきました。

そして、一度価格が大きく下がり始まると、できるだけ損失を少なくするために早めに争うように土地や株を売るようになってしまいました。まさに膨らんだシャボン玉が一気に弾けるように、膨れ上がっていた土地や株の価格は急速に下がっていきました。つまり、バブルが崩壊しました。そして、人々は貧乏になったと思って、消費を減少しました。そこで、物が売れなくなり、倒産した会社が増えて、失業率は高くなって、日本経済は不況になりました。

株式市場の事情を見てみましょう。株価は75.8%下落しました。1989 年 最高値は38,915 円で、バブル崩壊後 2002 年最安値の9,420 円に下落しました。地価も,株価のように土地神話は完全に崩壊しました。国内の土地評価額の減少は約 670 兆円。日本経済新聞の調べによりますと、バブルによって消滅した土地や株などの資産総額は1000 兆円~1200 兆円。

景気対策

まず、減税と言うのは税金を減らすことです。国が減税すると、人々は普段よりもお金を使うようになります。しかし、実現的に減税はなかなかこのようにうまくいかないです。少子高齢化などの将来に対する社会的な不安があまりにも強いために、多くの人たちはその減税分のお金を使わないで将来に備えて預金してしまいます。

次は、公共事業です。まず公共と言うのはみんなのと言う意味で、事業と言う言葉は、社会のために行う大きな仕事と言う意味です。つまり、公共事業というのは国が我々の生活のため道路や橋や公園などを作ることです。それをインフラストラクチャあるいはインフラともいいます。

公共事業では国が自分でお金を使うので、確実にお金回りに影響を与えることができると考えられます。しかし、残念ながら、最近の公共事業の中にはお金の無駄遣いになった公共事業もたくさんあります。例を挙げると、北海道で港を作ろうとしたけれども、1600兆円もかけた釣堀になってしまいました。笑っちゃうくらいものすごいお金の無駄遣いです。

さらに、現在においては、国が公共事業や減税などの景気対策を行うために、国債を大量に発行します。つまり、国は国民からお金を借ります。しかし、2003年の時点で日本が抱えている借金は地方の分も合わせて700兆円以上もあります。しかも、その700兆円以上の借金にかかる利子は、たったの1分間で3000万円以上も増え、たったの1時間で約20億円も増えます。大量の国債を発行したのに、それがお金の無駄遣いになってしまって、結局、日本の不況が続いています。

最近、日本経済はよくなってきています。グラフをご覧いただくと、重要な経済指標がよくなる傾向が見られます。

最後の言いたいのは純ちゃんががんばってください

ご清聴ありがとうございました。
以上

日本経済の不況の原因

日本経済はバブル崩壊後の1990年代から今も長期不況に陥っている。その長期不況を解決するために、日本政府はゼロ金利政策、赤字財政政策などの景気対策をとっているが、日本経済はまだ回復していない。その対策をさらに効果的に実施するためには、その不成功の原因は調べておくことは必要ではないか。そこで、この章ではその不況の原因が総需要の問題と総供給の問題であるとする2つの仮説を立てる。

まず、長期不況の原因は総供給だとしよう。このところ、日本社会に老齢化が進んでいる。この老齢化は経済的な影響をもたらしている。まず、老齢化が進んでいるために、日本経済の労働力が不足になっている。したがって、財∙サービスの供給が不足になっている。そのため、日本経済は輸入に依存するところがますます大きくなっている。そこで、貿易収支は赤字になった。この結果、安い商品が外国から日本に入り、内外価格差が大きいため、デフレの問題が発生したと考えられる。

次は総需要の問題であるとする考え方である。90年代の初めから地価や株価といった資本価格が急落した。こうしたバブルの崩壊は、実体経済へ大きな影響を及ぼした。バブル崩壊後は、不良債権、景気の長期低迷、製造業や金融の空洞化の影響で日本経済は以前のように安定していない。国民は経済の不安定さを感じれば感じるほど、さらに貯金する。つまり、消費が減少するのである。また、物価が下がるにつれて、国民の資産は急に減少した。それで、消費も投資も低下し、日本経済は経済後退に陥ることになった。それに対して、日本政府は日本経済の景気を良くするために、財政事情が急速に悪化するほど減税や財政支出増などの景気対策を行った。しかしながら、その景気政策は有効ではないと思われている。1995年度末の国債の発行残高は220兆円を超えた。

以上、日本経済の不況の原因についての仮説である。どちらが主な原因か、また実際に作用しあっているかどうかを、さらに調べなければならない。

Self-introduction in Japanese

 私は、タンパニッチュ・ナットです。現在、大阪大学経済学部研究科に在籍しています。 国籍はタイ王国で、先祖は中国広州出身の華僑です。24歳で干支は酉(十二支はタイも同じ)なので、今年(05年)は当たり年です。 昨年4月、タイ駐在日本大使館推薦の留学生として来日しました。

私が留学先として日本を選んだ理由は、昔から日本とタイとは皇室も含めて友好関係が続いていること、経済大国として世界をリードしている日本人の考え方や日本文化を勉強したかったからです。

 日本語については、3年前に交換留学生として国際キリスト教大学で10ヶ月程学び、今回の来日以来、大阪大学で4ヶ月間日本語研修コースを履修しました。

 この研修コースでの最終報告会(8月初)で私の選んだ発表テーマは、「バブル崩壊後の日本と景気対策」でした。

日本経済は、いわゆる土地神話の崩壊によってバブルが崩壊した後の90年代から現在に至るまで、依然として長期不況に陥っています。景気が回復しない主な原因の一つは、銀行の「不良債権処理」の遅れと考えられます。

政府は、銀行に対して、「公的資金」を注入し、また、景気対策として減税と公共事業を柱とする施策を講じました。日銀は、ゼロ金利政策、(金融機関への供給資金の)量的緩和を行いました。一方、少子高齢化の傾向が進み、労働力不足↓財・サービスの供給不足↓輸入依存↓貿易収支赤字↓内外価格差によるデフレの発生という問題が生じました。政府は、歳入減と歳出増に対処するために国債を発行していますが、その発行残高は220兆円を越えました。この様な次第で、景気対策は成功とはいえませんが、最近の経済指標では良くなる兆しも見えて来ていると思います。

 報告会の前に、ホスト・ファミリーの川口夫妻から、冒頭の切り出し方、言葉遣い、時間配分等についてアドバイスを受けました。

発表後の指導教官の講評は「日本経済について、聞き手にとってわかりやすい発表です」ということでほっとしました。

私は、現在奨学金として、月17万5千円程支給されています。タイの法定最低賃金は、1日170バーツ(約500円)ですから、奨学金としては随分恵まれていると思います。

 宿舎は留学生会館(吹田市)で、自炊しています。スーパーでブタ肉、トリ肉、魚介類、野菜等を買っていますが、店員さんは親切で愛想がいいと思います。

 買ってきた食材をフライパンで炒め、タイのピリ辛ソースやナンプラー(魚醤油)をかけて食べます。昼食用の弁当も作ります。

 日本食では、すしが一番口に合いますが、わさびが苦手なので取り除いて食べます。

来日して感じたことは、日本人は勤勉で、公共道徳心が高いということです。タイ人は、米、野菜、果物等に恵まれているためか、あまり熱心に働かないように思います。また、時間を守らないし、公徳心にも欠けています。例えば、電車の中で大声で話したり、町中の道路にはイヌの糞が転んでいたりします。

 しかし、女性の社会進出とか男女平等といった点では、タイは案外進んでいると思います。タイでは、大学の学部長等にも多くの女性が就任しているし、家庭では男性がよく家事に協力をしています。

日本の歴史では、平安時代がすばらしい。奈良時代は中国の模倣でしたが、平安時代に「かな」文字が発明されて、日本独自の文化が開化したと思います。それで、私は、奈良よりも京都の寺院のほうが好きです。特に東寺の菩薩像等を見ると心が安らぎます。

 先日の大晦日に初めて実際に雪を見て寒さを忘れました。夜中から元日にかけて、京都の八坂神社へ初詣に行きました。

 タイの正月は4月ですが、初詣の習慣はありません。ただ、九つのお寺巡りをする人達がいます。タイでは「9」という数字は縁起が良くて、「前進・発展」を意味します。日本の七福神巡りと似ていますね。

 ところで、タイでは、僧侶の社会的地位が高く、王様でも僧侶には頭を下げます。そして、一般市民(男性のみ)も、得度式を経て数ヶ月間僧侶として読経や托鉢等の修行をする風習があります。この修行をすると一人前と認められ、親孝行にもなるとされています。

それで、私も今年の春休みを利用して、父と同じお寺で得度式を受けて、お釈迦様の教えを学びたいと思っています。

 実は、今年の後半からアメリカへ留学する予定になっています。今度はタイ政府から奨学金を貰います。研究テーマは「タイ経済における貿易の役割」です。 

  アメリカから帰国後は、少なくとも四年間は公務員になることが義務付けられていますが、日本とアメリカの良いところを取り入れて仕事をしていきたいと思っています。

Sunday, June 12, 2005

คิดถึงญี่ปุ่น

ได้ฤกษ์เสียที่ครับในการอัพบล๊อกของผม ก็ต้องขอโทษคนที่รออ่านบล๊อกของผม(ที่มีอยู่น้อยนิด)ด้วยนะครับ ที่ผมหายหน้าหายตาไปนานสิบกว่าวัน เป็นสิบวันที่ค่อนข้างยุ่งมากครับ เพราะต้องทำอะไรหลายอย่างนับตั้งแต่ทำวีซ่าอเมริกา ปฐมนิเทศนักเรียนทุนรัฐบาล เข้าไปนั่งฟังเลคเชอร์โครงการปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษ ม.ธ. และพาโฮสต์คนญี่ปุ่นไปเที่ยว

สิบวันที่ผ่านไปนี้ มีอะไรหลายอย่างเกิดขึ้นมากมายครับ ทำวีซ่าอเมริกาเหนื่อยมาก ไปสถานฑูตมาสี่ครั้งแล้ว เหลืออีกสองครั้งถึงจะได้วีซ่า ปฐมนิเทศนักเรียนทุนรัฐบาลก็ได้เรียนรู้อะไรเยอะ เรียน M.A. ที่ธรรมศาสตร์ก็ยากแสนเข็น แต่สิ่งที่ผมประทับใจที่สุดในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ก็คงจะหนีไม่พ้น การที่ได้มีโอกาสเจอคนญี่ปุ่นอีกครั้ง

คนญี่ปุ่นที่มาเมืองไทยครั้งนี้เป็นผู้ที่มีบุญคุณกับผมมากตอนที่ผมอยู่ที่ญี่ปุ่น ผมเจอเขาผ่านทางการสมัครโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างชาวญี่ปุ่นกับนักศึกษาต่างชาติของมหาวิทยาลัยโอซาก้า ผมคิดว่าคงมีนักเรียนต่างชาติไม่กี่คนที่โชคดีเหมือนผมที่ได้เจอโฮสต์ดีมากแบบนี้ ทั้งนี้เพราะโฮสต์ของผมคนนี้ยิ้มเก่ง(เก่งกว่าคนไทยมาก) หัวเราะตลอด ชอบคุยเรื่องน่าสนใจ เป็นต้นว่าสังคม วัฒนธรรม และก็เคยพาผมไปที่น่าสนในหลายแห่ง เขายังเคยพาผมไปเข้าร่วมสังเกตการณ์การพิพากษาคดีในศาลชั้นต้นของนครโอซาก้าเลย ดังนั้นในการเจอเขาอีกครั้งจึงทำให้ผมคิดถึงญี่ปุ่นอยู่ไม่น้อย คิดถึงคนญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

หลายคนบอกว่าชาวญี่ปุ่นชาตินิยม ไม่ค่อยให้ความสนในเรื่องต่างประเทศ อันนี้ก็เห็นจะจริง ผมไปอยู่ญี่ปุ่น ได้มีโอกาสปฎิสันถารกับคนญี่ปุ่นบ้าง ถ้าไม่นับอาจารย์และนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย (ไม่ใช่ระดับปริญญาตรีนะครับ) บางคน ผมว่าคนญี่ปุ่นเป็นคนโลกแคบทีเดียว

ผมคิดว่าสาเหตุสำคัญที่ประการหนึ่งที่เป็นเหมือนกำแพงกั้นระหว่างคนญี่ปุ่นกับชนชาติอื่นๆคือภาษาญี่ปุ่น ที่จริงแล้วภาษาญี่ปุ่นก็มีส่วนคล้ายกับภาษาอื่นอยู่มาก เช่นมีการใช้ตัวอักษรคันจิเหมือนภาษาจีน แต่ถ้าพิจารณาแง่โครงสร้างภาษาแล้ว นับว่าแตกต่างจากภาษาจีนมากมายเหลือเกิน แต่ดันไปคล้ายกับโครงสร้างภาษาเกาหลี แต่เมื่อพิจารณาด้านคำศัพท์ คำที่คล้ายๆกับภาษาเกาหลีจริงๆมีจำนวนนับได้เลย จุดสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือเสียงในภาษาทั้งสองที่คล้ายกันก็มีไม่พอขนาดที่จะกล่าวได้ว่ามาจากภาษาตระกูลเดียวกัน (มองแดนซากุระ:ศ.ดร.ปรียา อิงคาภิรมย์ โฮะริเอะ,2545) ดังนั้นผมจึงคิดว่าภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเองอย่างแท้จริง ถ้าจะให้พูดก็คงจะสาธยายไม่หมด แต่พูดได้ประโยคเดียวว่า ถ้าผู้ใดไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่น อย่าหวังว่าเขาจะเข้าใจลักษณะนิสัยของคนญี่ปุ่นได้เลย

เดี๋ยวจะหาว่าไปว่าชาวญี่ปุ่น แต่นิยาม "โลกแคบ" ของผมนั้นไม่ได้หมายความถึงการปฏิเสธการเรียนรู้วัฒนธรรมต่างประเทศเนื่องด้วยการดูถูกคนต่างชาติต่างภาษาว่าเป็นคนต่ำชั้นกว่า แต่คนญี่ปุ่นมีนิสัยโลกแคบมาเพราะเขาไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศในทวีปเอเชียด้วยกัน ประเทศเขา สังคมเขาเป็นสังคมที่เจริญเเล้ว มีสิ่งดีๆมากมาย หลายคนบอกว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวที่คนเอเชียเอาไปอวดฝรั่งได้ เพราะเป็นประเทศเอเชียเพียงประเทศเดียวที่มีความเจริญรอบด้าน

ก็อาจจะจริงครับ แต่บางทีคนญี่ปุ่นอาจจะไม่เห็นด้วย ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยเพราะประเทศเขาไม่เจริญหรืออย่างไรนะครับ แต่เป็นเพราะว่าคนญี่ปุ่นไม่ได้ถือว่าประเทศญี่ปุ่นอยู่ในทวีปเอเชีย แต่เป็นประเทศหนึ่งที่เจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคโนโลยีเกินกว่าที่จะนับรวมกับประเทศด้อยพัฒนาต่างๆในทวีปเอเชียได้

เป็นที่น่าสังเกตมากว่า ครั้งหนึ่งผู้ผลิตสกีของฝรั่งเศสพยายามจะส่งสกีมาขายในญี่ปุ่นเมื่อหลายสิบปีก่อน รัฐบาลญี่ปุ่นในขณะนั้นถึงกับประกาศว่า สกีฝรั่งเศสไม่เหมาะกับหิมะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของประเทศญี่ปุ่น (ฮา) ต่อมาในปลายปี 1980 เมื่อครั้งที่ผู้ส่งออกเนื้อสหรัฐพยายามจะเปิดตลาดญี่ปุ่น ทางกระทรวงเกษตรญี่ปุ่นถึงกับประกาศว่ามีเเต่เนื้อในญี่ปุ่นเท่านั้นที่เหมาะกับระบบการย่อยอาหารที่ไม่เหมือนใครของชาวญี่ปุ่น (เอาเข้าไป) และในราวปี 1990 นักวิจัยที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นอ้างว่าคนญี่ปุ่นมีพันธุกรรมที่โดดเด่นมากทางด้านการฟัง และสามารถชื่นชมเสียงของธรรมชาติได้มากกว่าชาติใดๆ (หน้าต่างสู่โลกกว้าง:ญี่ปุ่น)

เพราะฉะนั้นผมจึงคิดว่าคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ได้มีเจตนาจะดูถูกคนต่างชาติต่างภาษา แต่เพราะว่าเขาคิดว่าเขาเป็นชาติพันธุ์ที่ไม่เหมือนใครในโลกมากกว่า ดังนั้นจึงไม่ใช่คนญี่ปุ่นที่จะต้องปรับตัวเข้าหาคนต่างชาติ แม้แต่ในทวีปเอเชียด้วยดันเอง แต่คนเอเชียประเทศอื่นๆจะต้องเป็นฝ่ายปรับตัวเข้าหาคนญี่ปุ่น นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นยังเป็นเพียงประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นมหาอำนาจเพียงประเทศเดียวที่อยู่ในทวีปเอเชีย ไม่เหมือนประเทศพัฒนาแล้วในทวีปยุโรปหรืออเมริกาที่มีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมสูง ประเทศญี่ปุ่นจึงมีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก และกล้าคิดได้แม้ขนาดที่ว่าประเทศตัวเองไม่ได้อยู่ในเอเชีย

แต่ปัจจุบันนี้ โลกเราได้เปลี่ยนแปลงไป และมันบังคับให้คนญี่ปุ่นต้องเปิดกว้างมากขึ้น มีชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่มีความกระตือรือล้นในการเปิดโลกให้กับตัวเอง โฮสต์ของผมอายุหกสิบกว่าปีแล้วยังไปเรียนสนทนาภาษาอังกฤษอยู่เลย

ทุกครั้งผมเข้าไปในร้านหนังสือที่ญี่ปุ่น มุมที่ผมจะเข้าไปเป็นมุมเเรกเลยคือมุมหนังสือสอนภาษาอังกฤษ มีหนังสือสอนภาษาอังกฤษมากมายเหลือคณานับในญี่ปุ่น และที่สำคัญคือมีมากมายหลายเล่มที่ดี มีวิธีการสอนน่าสนใจ และมีคำอธิบายอย่างกระจ่างชนิดที่สามารถพูดได้ว่าไม่รู้จะกระจ่างมากกว่านี้ได้ยังไงแล้ว เพราะฉะนั้นก่อนกลับมาเมืองไทย ผมเลยซื้อหนังสือภาษาอังกฤษดีๆกลับมาหลายเล่มทีเดียว

หลังจากที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เคยรุ่งเรืองอย่างมากช่วงก่อนศตวรรษที่ 90 ถึงยุกตกต่ำ ประเทศญี่ปุ่นจึงเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คนญี่ปุ่นเริ่มรู้สึกถึงความไม่มั่นคง ถ้าตัวเองยังคงโลกแคบอยู่อย่างนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดกว้างมากขึ้น ผมคิดว่าพลวัตในสังคมญี่ปุ่นนี้น่าจับตาอย่างยิ่งครับ

Friday, June 03, 2005

ธรรมเนียมริมจอกชา

ประเทศจีนและประเทศไทยนั้นมีความสัมพันธ์อันดีมาช้านาน ไม่เคยมีเรื่องกระทบกระทั่งกันจนเสียเลือดเนื้อ คนไทยกับคนจีนจึงเปรียบเสมือนพี่น้องกัน

ถึงแม้วัฒนธรรมไทยจะได้รับอิทธิพลจากอินเดียมามากกว่าจากจีน แต่ขนบธรรมเนียมของจีนดูเหมือนจะมีลักษณะใกล้เคียงกับของไทยมาก ถึงแม้อาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง แต่ก็สามารถทำความเข้าใจกันได้โดยไม่ยาก

ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ที่เราๆท่านๆพึงจะศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีจีนไว้บ้าง นอกจากเหตุผลทางเศรษฐกิจแล้ว ผมคิดว่าท่านผู้อ่านร้อยทั้งร้อยต้องรู้จักคนจีนบ้าง ทั้งเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนในมหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งคนที่กำลังจีบสาวจีนอยู่ การเรียนรู้วิถีแบบจีนไว้จักเป็นประโยชน์มาก ใช่หรือเปล่าครับคุณ kazamatsuri

ผมคงไม่ไปค้นคว้าอะไรเป็นพิเศษ เพราะว่ามีบทความดีๆหลายอันที่เกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมจีนเขียนโดยนักเขียนที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ผมจึงขออนุญาตนำบางส่วนของบทความเรื่อง “ธรรมเนียมริมจอกชา” เขียนโดยคุณหลิน วริษฐ์ หรือคุณวริษฐ์ ลิ้มทองกุล จากคอลัมน์จากโลกคนละซีกในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 30 เมษายน 2546 มาให้ท่านผู้อ่านอ่านกัน
บทความมีดังนี้ครับ

สัปดาห์นี้ผมก็มีเรื่องธรรมเนียมของคนจีนมาเล่าสู่กันฟังเช่นกัน แต่แน่นอนว่าผมจะไม่เล่าว่า ต้องกล่าวทักทายด้วยคำว่า “หนีห่าว” ขอบคุณด้วยคำว่า “เซี่ยเซี่ย” หรือกล่าวคำอำลาด้วยคำว่า “ไจ้เจี้ยน” เพราะนั่นหาเอาที่ไหนก็ได้ แต่จะเล่าถึงเรื่องชีวิตประจำวันที่เรามักพบและได้ใช้ไปประจำ คือ “ธรรมเนียมการทักทายและรับแขกของชาวจีน

คนไทยทักทายกันด้วยการไหว้ คนญี่ปุ่นอาจจะเป็นการโค้ง โค้งแล้วโค้งอีก ส่วนคนจีนนั้นก็เหมือนกับชาวตะวันตก เป็นการเช็กแฮนด์ หรือจับมือ (โว่โส่ว)

อย่างไรก็ตามการจับมือแบบชาวจีนนั้นก็มีขนบ คือในการทักทายแบบปกติ ผู้ชายจะต้องให้ผู้หญิงยื่นมือมาก่อน ผู้ชายจึงจะยื่นมือไปจับได้ ขณะที่ผู้ที่มีคุณวุฒิหรือวัยวุฒิด้อยกว่า ก็ต้องรอให้ผู้ที่มีคุณวุฒิหรือวัยวุฒิสูงกว่ายื่นมือมาก่อน ขณะที่หากคุณเป็นเจ้าของบ้าน หากมีแขกมาก็ต้องยื่นมือไปจับมือแขกก่อน แต่เวลาแขกจะกลับ ก็ต้องรอให้แขกยื่นมือมาก่อน มิฉะนั้นจะเปรียบเสมือนว่า เป็นการไล่แขกให้รีบกลับได้

ส่วนที่เห็นเขาจับมือกันแนบแน่นสองมือ ก็เอาไว้ใช้เฉพาะเวลาเพื่อนสนิทกับเพื่อนสนิทพบกันเท่านั้น หากพึ่งรู้จักกัน หรือพึ่งพบหน้ากันครั้งแรก จับกันมือเดียวก็พอ

เมื่อจับมือกันแล้ว เชิญแขกเข้ามาในบ้านแล้ว คนจีนปกติจะ “เชียร์แขก” เอ๊ย “รับแขก” ด้วยเครื่องดื่มยอดนิยมเป็น “ชา” จะเป็นชาเขียว ชาแดง ชาดอกไม้ หรือชาอะไรก็แล้วแต่ฐานะ แต่ที่สำคัญก็คือ “วิธีการรินชา”

การรินชาให้แขกของชาวจีนนั้นจะต้องรินประมาณ “ค่อนจอก” การรินชาให้ “เต็มจอก” นั้นเป็นสัญญาณที่บอกว่าเจ้าบ้านไม่รับแขก เนื่องจากตามลักษณะของจอกชา หากรินให้เต็มจอกจะยากแก่การยกดื่ม แม้กระนั้นการรับแขกด้วยชาก็มิใช่เห็นว่าแขกอาจจะคอแห้ง เติมชาแล้วเติมชาอีก เพราะนั่นเป็นสัญญาณที่บอกว่า “รีบๆกลับไปได้แล้ว”

หากคนจีนเชิญแขกมาที่บ้านโดยปกติแล้วจะต้องมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ หรือทันยุคทันสมัยหน่อยก็อาจจะเป็นไวน์ตั้งอยู่บนโต๊ะด้วย

ธรรมเนียมการรินเหล้านั้น ควรจะรินให้เต็มแก้ว ตรงข้ามกับการตักข้าวให้แขก ที่ไม่ควรตักให้พูนถ้วยมากนัก เนื่องจากการตักให้พูนเกินไปนั้นอาจแปลความหมายได้ว่า ไม่อยากให้แขกเติมข้าวถ้วยที่สอง

โดยมากแล้ว ในการเตรียมกับข้าวรับแขกของชาวจีน เจ้าบ้านมักจะเตรียมให้บนโต๊ะมีกับข้าวที่หลากหลาย ทั้งเนื้อ ผัก และมีรสชาติที่สมดุล คือมีทั้งรสจัด-ไม่จัด เปรี้ยว-หวาน และที่สำคัญคือควรมีกับข้าวเป็นจาน “ปลา” อย่างน้อย 1 จาน และถ้าหากโต๊ะกินข้าวไม่ใช่โต๊ะจีนกลมมีถาดหมุนอยู่ตรงกลาง เจ้าบ้านมักจะหันหัวปลาเข้าหาแขก

แม้ปักกิ่งหรือในแถบเมืองที่ไม่ติดแม่น้ำ ติดทะเล แม้ปลาจะราคาแพง แต่ถ้าไปงานเลี้ยงก็มักจะพบกับอาหารปลาวางอยู่บนโต๊ะอาหารเสมอ เนื่องจากปลา ในภาษาจีนออกเสียงว่า “อวี๋(魚)” ซึ่งไปพ้องเสียงกับคำว่า เหลือกินเหลือใช้…(余 และเป็นแซ่ของผมเองครับ ภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า อะมะรุ)* ทั้งนี้เจ้าบ้านก็ต้องจำไว้ด้วยว่า ห้ามกินเสร็จก่อนแขก หรือปล่อยให้แขกโซ้ยอยู่อย่างเดียวดาย

จบพิธีการสนทนาควบคู่ไปกับการเติมท้องให้อิ่ม ถึงเวลาแขกกลับบ้าน คนจีนตั้งแต่สมัยโบราณ หากใครอ่านนิยายกำลังภายใน คงจำได้ว่าเวลาเหล่าจอมยุทธ์ส่งแขก บางทีอาจเดินไปส่งกันเป็น 5 ลี้ 10 ลี้ (แล้วใช้วิชาตัวเบา เหาะกลับบ้าน)

นิยายก็บ่งชี้ธรรมเนียมของขาวจีนได้เช่นกันคือ ต้องส่งให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้คนธรรมดาอย่างเราๆ คงไม่ต้องถึงขนาดเดินส่งกันขนาดนั้น (เพราะคงไม่ต้องทำมาหากินกันพอดี) แต่หากเป็นผู้สูงอายุ หรือคนสำคัญก็ต้องไปส่งถึงประตูรถ อาจจะขึ้นรถแท็กซี่หรือรถประจำทางก็แล้วแต่ หรืออย่างน้อยๆ ก็ต้องส่งที่หน้าประตูบ้าน ทั้งนี้ต้องส่งให้แขกลับมุมตึก หรือลับสายตาไปเสียก่อน จึงจะปิดประตูเข้าบ้านได้

ดูจะจุกจิกหน่อย แต่ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ... ไว้วันหลังมีอะไรน่าสนใจผมก็จะเอามาฝากกันอีก

“ส่งแขก...!!!”

* ข้อความในวงเล็บนั้นผมเขียนเพิ่มเติมเอาเอง